รูปปั้นสิงโตทะเล ที่มีลักษณะส่วนหัวเป็นสิงโต และส่วนล่างเป็นหางปลา ตั้งอยู่บนยอดคลื่นทะเล หรือที่เรียกกันในชื่อว่า เมอร์ไลออน (Merlion) ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ไปแล้ว เรียกว่าถ้าใครได้เห็นรูปปั้นนี้ก็รู้ทันทีว่ามันคือประเทศสิงคโปร์ รูปปั้นเมอร์ไลออน ในปัจจุบันทั่วสิงคโปร์มีทั้งหมด 3 ตัว ซึ่ง 2 ตัว ถูกตั้งอยู่ที่บริเวณปากอ่าวมาริน่า บริเวณเมอร์ไลออนปาร์ค ซึ่งเมอร์ไลออนตัวแม่หันหน้าออกสู่ทะเล และ เมอร์ไลออนตัวลูก ตั้งอยู่ในปาร์ค หันหน้าเข้าตัวเมืองสิงคโปร์ ใครที่มาเที่ยวสิงคโปร์ครั้งแรกในชีวิต รับรองได้ว่าต้องมาเก็บภาพคู่กับเจ้าเมอร์ไลออนกันทุกคน เพราะไม่งั้นคงมีความรู้สึกว่ายังมาไม่ถึงสิงคโปร์แน่ๆ Merlion ตัวลูกที่ตั้งอยู่ในบริเวณ Merlion Park หันหลังให้กับ Melion ตัวแม่ ที่หันหน้าเข้าสู่ อ่าวมาริน่า เบย์
การเดินทางไปชมเจ้าเมอร์ไลออน
นั่งรถไฟฟ้า sMRT มาลงที่สถานี Raffles Place แล้วเดิน เดิน เดิน อีกประมาณ 10 นาที
พิกัด 1.286762,103.85416
ประวัติเกี่ยวกับเมอร์ไลออน
แต่เดิมรูปปั้นนี้ตั้งอยู่ที่สวนสิงโตทะเล (Merlion Park) ข้างๆสะพานเอสพลาเนด (Esplanade Bridge) แม่สิงโตและลูกสิงโตได้กลายเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยว มีการจัดพิธีติดตั้งสิงโตทะเลในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1972 โดยมีประธานในพิธีคือนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ณ เวลาดังกล่าว ซึ่งก็คือ นายลี กวน ยู
สิงโตตัวนี้สูง 8.6 เมตร มีน้ำหนัก 70 ตัน ทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ โดยช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ผู้เสียชีวิตไปแล้วที่ชื่อนายลิมนังเซ็ง ส่วนรูปปั้นสิงโตทะเลตัวที่สองจะมีขนาดเล็กกว่า ขนาดสูง 2 เมตรและหนัก 3 ตัน ก็ถูกสร้างขึ้นโดยนายลิมเช่นกัน ตัวสิงโตทำจากวัสดุจำพวกซีเมนต์ ผิวหนังทำจากแผ่นกระเบื้อง และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก
ผู้ออกแบบคือนายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr Fraser Brunner) เป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ หัวรูปปั้นเป็นสิงโตหมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลาอุตามะเคยเห็นตอนที่พระองค์พบเกาะสิงกะปุระในปี ค.ศ. ที่ 11 ตามบันทึกของชาวมาเลย์ ส่วนหางที่เป็นปลาคือสัญลักษณ์ของเมืองโบราณเทมาเซ็ค (หมายความว่า "ทะเล" ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งสิงคโปร์ถูกค้นพบมาแล้วก่อนที่เจ้าชายนิลาจะตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "สิงกะปุระ" (หมายความว่า "สิงโต" (สิงห์) และ "เมือง" (ปุระ) ในภาษาสันสกฤต) นอกจากนี้ยังหมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ที่ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านชาวประมง